วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผ้าพุมเรียง




    การทอผ้าพุมเรียง เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ของกลุ่มคนไทยมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านหัวเลน  หมู่ที่2 บริเวณครองพุมเรียง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษณ์ธานี ซึ่งได้สืบทอดกันทั่วหลายอายุคนจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ผ้าไหมพุมเรียงเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงามและมีลักษณะเด่นที่ต่างไปจากผ้าไหมอื่นๆคือการทอยกด้วยไหมและดิ้น ผ้ายกดอกที่มีชื่อเสียงได้แก่ ผ้ายกชุดหน้านาง ผ้ายกดอกสมเกสรและผ้ายกดอกลายเชิง เป็นต้น
    เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าตำบลพุมเรียงในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ หูก จึงเรียกการทอผ้าว่าการทอหูก ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของผู้หญิงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมที่จะต้องเตรียมไว้ให้ครอบครัวโดยเฉพาะหญิงสาวที่จะออกเรือนจะต้องเตรียมผ้าที่จำเป็นทั้งของฝ่ายชายและของตนเอง ซึ่งมีทั้งผ้านุ่ง ผ้าห่มและเครื่องใช้ต่างๆดังนั้นการมีฝีมือการทอผ้าจึงเป็นการแสดงความเป็นกุลสตรีอีกด้วย










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น