วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ผ้าลายหางกระรอก



      ผ้าหางกระรอกเป็นผ้าที่นำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความประณีตสวยงาม เป็นที่รู้จักกันดีมาแต่โบราณจนเป็นที่รู้จักของคน โคราชและคนทั่วไปคือผ้าหางกระรอก ผ้าหางกระรอกเป็นผ้าพื้น ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งน่าจะเรียกชื่อตามผิวสัมผัสเพราะลายที่ปรากฎบนเนือผ้าเป็นผ้าฝอยฟู มองดูเหมือนขนอ่อนๆเหลือบระยับคล้ายขนของหางกระรอกแลดูสวยงาม แปลกตา
     วัสดุที่ใช้สำหรับทอผ้าหางกระรอก ได้แก่ เส้นใยไหมหรือเส้นใยฝ้าย ผ้าหางกระรอกที่ทอด้วยไหม เนื้อผ้ามีลักษณะละเอียด เย็นเป็นเงามีสีเหลือบ ถ้าทอด้วยพิม 2 ตะกอ สีของผ้าจะมีสีเดียวทั้ง2ด้าน แต่ถ้าทอด้วยพิม3ตะกอ สีของผ้าด้านหนึ่งจะมี สีอ่อน สามารถเลือกใช้สีเข้มหรืออ่อนได้ตามต้องการ ถ้าใช้เส้นใยฝ้ายเนื้อผ้าจะไม่ละเอียดเป็นเงาลายฝอยฟูที่ปรากฎบนเนื้อผ้า แลดูไม่ละเอียดอ่อนเท่าลายผ้าที่ทอด้วยไหม




ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกปีบ



     ผ้าทอลายดอกปีบเป็นผ้าทอที่คิดโดยกลุ่มชาวบ้านของจังหวัดพิษณุโลก ที่ใช้สัญลักษณ์ดอกไม้ประจำจังหวัดเป็นผ้าทอที่ใช้ไหมประดิษฐ์ ราคาจึงไม่สูงมากนัก สามารถตัดเย็บเพื่อสวมใส่หรือซื้อไปเป็นของฝาก ดูแลรักษาง่าย สีไม่ตก ไม่หด เนื้อแน่น ทอได้สม่ำเสมอ และมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์สะดุดตา สวมใส่แล้วรู้สึกได้ว่าผ้าทอลายดอปีบของจังหวัดพิษณุโลก จนมาถึงวันนี้ชาวจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดใกล้เคียงต่างยอมรับผ้าทอลายดอกปีบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ ทำรายได้ให้แก่กลุ่มสมาชิกกลุ่ผ้าทอ ผู้ตัดเย็บเสื้อผ้าและเป็นความภูมิใจของชาวจังหวัดพิษณุโลก








ผ้าแพรวา

                                    


       ผ้าแพรวาเป็นผ้าทอมืออันเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าสไบ ที่ใช้กันในหมู่ชาวไทยทั่วไป แต่มีสีสันลวดลาย ที่หลากหลายมากมาย และนิยมทอด้วยไหมทั้งผืนนับเป็นผ้าไทยอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่ผู้นิยมผ้าไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ
      การทกผ้าแพรวานั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการทอผ้าจก นั่นคือใช้มือจก ยกเส้นด้ายยืนแล้วสอดด้ายสีไปตามลายผ้าที่ต้องการ ชาวภูไทยยืนยันว่าการทอแพรวาแบบภูไทแท้นั้น จะไม่ใช้อุปกรณ์อื่นช่วย ไม่ว่าจะเป็นเข็ม ไม้ และขนเม่น


ผ้าฝ้าย


      เป็นเส้นใยเก่าแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกให้รู้ว่ามีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือการขุดพบฝ้ายในซากปรักหักพังอายุประมาณ 3,000 ปี ก่อนคิดคริสตกาล  ที่แหล่งโบราณคดี โมฮันโจ ดาโร บริเวณแหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน ใยฝ้ายได้มาจากส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ดของต้นฝ้ายหรือที่เรียกว่า ปุยฝ้าย ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆฝ้ายมีคุณสมบัติเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย ระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากฝ้ายมีช่องระหว่างเส้นใย จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อน และเมื่อเปียกจะตากแห่งได้เร็ว


ผ้ากาบบัว



       ผ้ากาบบัว เป็นชื่อผ้าที่ถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมโบราณอีสานหลายเรื่องคำว่า กาบ ในภาษาอีสานมีความหมายถึง เปลือกหุ้มชั้นนอกของต้นไม้บางชนิด เช่น เปลือกหุ้มต้นกล้วย เรียกกาบกล้วย หุ้มไม้ไผ่ เรียกกาบกลาง กลีบหุ้มดอกบัว เรียกกาบบัว ผ้ากาบบัวอาจะทอด้วยไหมหรือฝ้าย โดยมีเส้นยืน ย้อมอย่าน้อยสองสีเป็นริ้ว ตามลักษณะ ซิ่นทิว ซึ่งมีความนิยมแพร่หลายแถบอุบลราชธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เส้นพุ่ง จะเป็นเส้นไหมมับไม(ไหมปั่นเกลียวหางกระหรอก) มัดหมี่และขิด


วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ผ้าม่อฮ้อม


     เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย มีสีน้ำเงินเข้มที่ได้จากการย้อมด้วยต้นหอมในหม้อดินจึงเรียกว่าหม้อห้อม ก่อนจะเพี้ยนมาเป็น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม จัดเป็นเครื่องแต่งกายพื้นบ้นของไท ตั้งแต่ไทลื้อในสิบสองปันนาลาวในประเทศลาวและล้านนาทางภาคเหนือของไทย
       กรรมวิธีการย้อม น้ำยาที่ใช้ย้อมได้มาจากต้นหอมหมักในน้ำ จนใบหอมเน่า ได้สีเขียวไข่กามีกลิ่นเหม็น จากนั้นนำใบหอมที่เน่าแล้วทิ้งไป และนำใบหอมใหม่มาหมักในน้ำเดิมจนเน่าเหม็นเข้มข้นขึ้น ได้น้ำห้อมสีฟ้า จากนั้นกองกากห้อมทิ้งไปเหลือแต่น้ำ เมื่อนำน้ำที่ได้ไปหมักกับปูนขาว กวนให้ขึ้นฟองจะได้น้ำสีน้ำเงินเข้มหรือสีราม เมื่อกรองเอาแต่น้ำสี ใส่ในหม้อดินใบใหญ่ จึงเรียกว่า หม้อห้อม





ผ้าซิ่นตีนจก


ผ้าซิ่นที่จัดทำลวดลายเป็นพิเศษที่ส่วนเชิง การจกจะใช้ด้ายหลายสี ลวดลายสลับซับซ้อน ซิ่นตีนจกประกอบด้วย3ส่วนคือ หัวซิ่น คือผ้าอีกส่วนหนึ่งที่นำมาต่อเป็นส่วนหัวหรือส่วนที่อยู่ตรงเอวของผ้านุ่ง หัวซิ่นนี้จะเป็นผ้าพื้นสีขาวหรือแดง ตัวซิ่นคือผ้าซิ่นส่วนกลางทอเป็นลายขวาง สีที่พบมากคือสีเหลืองลับสีแดง หรือดำแถบเล็กๆที่เรียกว่าซิ่นตาบ่านาว(ซิ่นตามะนาว)หรือซิ่นตาหมู ส่วนล่างสุดของซิ่นคือตีนซิ่น ซึ่งเป็นส่วนเชิงผู้มีฐานะจะใช้ตีนซิ่นที่ตกแต่ง้วยการจก การจกทำด้วยด้ายหลายสีมีลวดลายต่างๆเช่น ลายนก ลายเขี้ยวหมา ลายหงส์ดม เป็นต้น




ผ้าไหม



ผ้าไทยมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณดีบ้านเชียงที่บ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000ปีก่อน
การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้งานในพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ราชกาลที่5) ได้ส่งเสริมผ้าไหม

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ผ้าขาวม้า





       เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นเพศชาย สามารถใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว คลุมหัวกันแดด หรือทำเปลก็ได้ บางก็เรียกว่าผ้าเคียนเอว 
      ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ2ศอก ความกว้างประมาณ3-4ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี

ผ้าโสร่ง




เป็นผ้านุ่งอย่างหนึ่ง ที่ใช้ผ้าผืนเดียว เพลาะชายสองข้างเข้าด้วยกันเป็นถุง หรือผ้าซิ่นใช้นุ่งอย่างแพร่หลายทั้งหญิงและชาย ใช้หลายประเทศของเอเชียโดยเฉพาะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกต่างกันไป
การนุ่งผ้าโสร่งก็เหมือนกับนุ่งผ้าถุงคือต้องนุ่งขึ้นมาจากเท้าไม่ใช่พันรอบตัว ดึงขึ้นมาให้ขอบด้านบนเลยเอวเล็กน้อย จับปลายผ้าเหยียดออกไปจนสุด แล้วพับทบกลับมาให้แน่นหนาพอดีกลับลำตัวแล้วพับขอบด้านบนลงมาเป็นชายพก โดยเหตุนี้ผ้าโสร่งจึงดูจะเป็นทางการมีความเรียบร้อยมากกว่าผ้าขาวม้าผ้าโสร่งจึงใช้นุ่งในที่สาธารณะได้ไม่ขัดเขิน

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

มัดหมี่



ผ้ามัดหมี่ เป็นกรรมวิธีแบบหนึ่ง ที่อาศัยการย้อมเส้นด้ายก่อนการทอ ทั้งที่ย้อมเฉพาะพุ่งและย้อมด้ายยืนเพื่อให้ทอผ้าออกมาเป็นผืนแล้วเกิดเป็นลวดลายและสีสันตามที่ต้องการ เดิมนั้นนิยมใช้เส้นไหม แต่ปัจจุบันพบการมัดหมี่ทั้งเส้นไหม ฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์
ผ้ามัดหมี่ในประเทศไทยพบได้มากในภาคอีสาน โดยการมักเป็นลวดลาย เช่น ลายนาค ลายโคม สัตว์ ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ